»»» 3.7.1 ด้านราชการ
      »»» 3.7.2 ด้านงานธุรกิจ
      »»» 3.7.3 ด้านการคมนาคมขนส่ง
      »»» 3.7.4 ด้านงานการศึกษา
      »»» 3.7.5 ด้านงานวิทยาศาสตร์และการแพทย์
      »»» 3.7.6 ด้านงานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
      »»» 3.7.7 งานอื่นๆ

          คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคน ทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน ต่างก็มีคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบบการทำงาน ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างงานต่างๆกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนสำคัญในด้านต่างๆดังต่อไปนี้

3.7.1 ด้านราชการ (government) 

          หน่วยงานราชการเป็นหน่วยงานที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้งานในการบริการด้านต่างๆ ตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานนั้น เช่น
กรมสรรพากร ได้วางระบบบนเว็บไซต์ สำหรับให้บริการคำนวณภาษี เสียภาษี และรายการต่างๆ
ที่ว่าการอำเภอ ใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูลการแจ้งเกิด แจ้งตาย ย้ายที่อยู่ หรือทำบัตรประชาชน
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ใช้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลสถิติสำมะโนประชากร หรือวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ เป็นต้น

รูปที่ 3.45 เว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ให้บริการเกี่ยวกับภาษี
ที่มา : https://moneyhub.in.th/wp-content/uploads/2016/01/tax1.jpg


          คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้กับงานด้านธุรกิจ ทั้งการจัดทำเอกสาร นำเสนองาน โดยนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันทั่วไป เช่น Microsoft office มาใช้กันอย่างแพร่หลาย และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น ห้างสรรพสินค้าใช้คอมพิวเตอร์ในการทำระบบบัญชีสำเร็จรูป เพื่อทำรายการซื้อและขายสินค้า การตรวจสอบยอดคงเหลือของสินค้า ธุรกิจออนไลน์นำคอมพิวเตอร์มาใช้งานในรูปแบบของการซื้อและขายสินค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต (e-commerce) การทำธุรกิจในการรับชำระเงินค่าเช่าซื้อสินค้าและค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ที่มีการออนไลน์ข้อมูลกับหน่วยงานหลักเพื่อทำการตัดยอดบัญชีโดยอัตโนมัติ

งานธนาคารที่บริการการฝากเงิน การถอนเงิน การโอนเงิน การกู้ยืมเงิน การคิดดอกเบี้ย รวมถึงการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-banking) หรือการทำธุรกรรมต่างๆ โดยใช้โทรศัพท์มือถือผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ (m-banking) ที่มีความสามารถเท่าเทียมกับคอมพิวเตอร์แบบพกพา นอกจากนี้ยังสามารถชำระค่าบริการและค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการผ่อนชำระสินค้าผ่านบัตรเครดิต การเติมเงินมือถือ การซื้อขายหุ้นเป็นต้น


รูปที่ 3.46 การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : http://eclaim3.emcsthai.com/eclaim/billpaymentweb/img/bbl-iBanking2.jpg


          การคมนาคมและการขนส่ง เช่น การเดินทางโดยเครื่องบิน เรือ รถไฟ รถไฟฟ้า และรถประจำทาง ได้มีการนำคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนสำคัญในการให้บริการแก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็น การสำรองที่นั่ง ผ่านระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การออกบัตรโดยสารออนไลน์ การตรวจสอบเส้นทางและตารางเดินทาง มีส่วนช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย

นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เพื่อช่วยจัดระเบียบเส้นทางการจราจรให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และยังมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างสถานการณ์จำลองการบินสำหรับนักบินฝึกหัด โดยจำลองการขับเครื่องบินเสมือนจริงช่วยประหยัดทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยให้กับนักบินและผู้โดยสารได้อีกด้วย


รูปที่ 3.47 การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการคมนาคม การสำรองที่นั่ง
ที่มา :  
http://3.bp.blogspot.com/-MhYULLvh6rw/UkCmVUrh7FI/AAAAAAAARAU/4mjg5sqESrM/s1600/Screen+Shot+2556-09-24+at+2.24.48+AM.jpg

          สถาบันการศึกษาในปัจจุบันนี้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) โดยสื่อนี้จะนำรูปแบบของภาพ เสียง ตัวอักษร และเทคนิคการนำเสนอต่างๆที่น่าสนใจ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถทบทวนได้ตลอดเวลา และการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต(e-learning) สร้างบทเรียนออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลและไม่สะดวกเข้าชั้นเรียน สามารถเรียนรู้ผ่านระบบได้ด้วยตนเอง รวมถึงใช้ในการบริหารโรงเรียน เช่น งานทะเบียน งานวัดผลการเรียน การยืม และคืนหนังสือห้องสมุด เป็นต้น


รูปที่ 3.48 การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ที่มา : https://home.kku.ac.th/acamed/moodle/editcourse01.JPG


          นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการศึกษา คำนวณ ค้นคว้า วิจัย รวมทั้งจำลองสิ่งต่างๆในทางวิทยาศาสตร์ให้อยู่ใน
รูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น และสร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ เช่น การจำลองรหัสพันธุกรรม การพยากรณ์อากาศ การสำรวจการขุดเจาะทรัพยากรธรณี การเตือนแผ่นดินไหว การทำแผนที่จากภาพถ่ายดาวเทียม การสำรวจอวกาศขององค์กรนาซา เป็นต้น

อีกทั้งยังมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกับเครื่องมือและอุปกรณ์สมัยใหม่ในการวินิจฉัยโรคและตรวจสอบอาการของไข้ เช่น เครื่องตรวจวัดคลื่นหัวใจ เครื่องตรวจวัดคลื่นสมอง เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่สามารถสร้างภาพสามมิติของอวัยวะภายใน ช่วยให้แพทย์สามารถรักษาและวินิจฉัยโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี่ยังใช้ระบบการเงิน สถิติ ข้อมูลของคนไข้ โดยโรงพยาบาลบางแห่งมีการเชื่อมโยงประวัติข้อมูลของคนไข้ เมื่อมาพบแพทย์อีกครั้งก็สามารถเรียกดูประวัติของคนไข้ว่าเคยแพ้ยาชนิดใด มีโรคประจำตัวหรือไม่ มีกรุ๊ปเลือดอะไร เพื่อให้แพทย์สามารถทราบข้อมูลเบื้องต้น เพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว


รูปที่ 3.49 เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สามารถสร้างภาพสามมิติของอวัยวะภายใน
ที่มา : http://www.seriruk.co.th/center/new-neuro/images/CT_%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%9B.jpg



          วิศวกรและสถาปนิกนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ เขียนแบบ หรือจำลองโครงสร้างของงานต่างๆ เช่น การออกแบบอาคารพาณิชย์ การสร้างเขื่อนเพื่อรองรับน้ำฝน การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์จะช่วยในการคำนวณที่ซับซ้อน และแสดงผลถึงประสิทธิภาพของงานที่ออกแบบ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การคำนวณที่ถูกต้องและรวดเร็ว เช่น การคำนวณวงโคจรของดาวเทียม เพื่อใช้ในการรับและส่งสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น

รูปที่ 3.50 การใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านสถาปนิก
ที่มา : https://sites.google.com/a/saharaj.ac.th/kroowatcharapong/_/rsrc/1469075487115/hnwy-thi-1-rabb-khxmphiwtexr/1-2-bthbath-khxng-khxmphiwtexr/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E16%20%28Custom%29.png




3.7.7 งานอื่นๆ
          นอกจากที่กล่าวมาแล้ว คอมพิวเตอร์ยังมีบทบาทด้านอื่นๆ หลายด้าน เช่น งานละคร  
งานโฆษณา งานโรงแรม การนำเข้าสินค้า การส่งออกสินค้า การประชุมทางไกล การวิเคราะห์ตลาดหุ้น เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์จะช่วยออกแบบ ลงทะเบียน ตรวจสอบ บันทึก และเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว


รูปที่ 3.51 การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย (Video Conference System)
ที่มา : https://www.paradisosolutions.com/blog/wp-content/uploads/2015/07/moole_webex_integration2.jpg





ลำดับขั้นตอนการศึกษาบทเรียน

หน้าหลัก
»คำแนะนำการใช้บทเรียน
»คำอธิบายรายวิชา
»แบบทดสอบก่อนเรียน
»แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 1 รู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

»จุดประสงค์การเรียนรู้
»แบบทดสอบก่อนเรียน

  »» 1.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคืออะไร
      »»»เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์
      »»»เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร
      »»»เทคโนโลยี (Technology)
      »»»สารสนเทศ (information)
      »»»เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT)

  »» 1.2 ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      »»» 1.2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
      »»» 1.2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสามารถนำไปประยุกต์ในด้านต่างๆ
      »»» 1.2.3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยทำให้การบริการสะดวกขึ้น
      »»» 1.2.4 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ
      »»» 1.2.5 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

  »» 1.3 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      »»»» 1.3.1 ผลกระทบด้านบวก
           1) การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต
           2) การเสริมสร้างความเสมอภาคในสังคมและการกระจายโอกาส
           3) การเรียนการสอนและส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย
           4) การรักษาสิ่งแวดล้อม
           5) การรักษาความปลอดภัย
           6) การผลิตในอุตสาหกรรมและการพาณิชยกรรม
           7) การสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนาความคิด
           8) การส่งเสริมประชาธิปไตย
      »»»» 1.3.2 ผลกระทบด้านลบ
           1) ทำให้เกิดอาชญากรรม
           2) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเสื่อมถอย
           3) ทำให้เกิดความวิตกกังวล
           4) ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยในการดำเนินงาน
           5) ทำให้เกิดการพัฒนาอาวุธไปใช้ในทางที่ผิด
           6) ทำให้เกิดการแพร่กระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสม
           7) ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
           8) ทำให้ติดคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

  »» วิดีโอสรุปเนื้อหาหน่วยที่ 1

» แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 2 ข้อมูลและสารสนเทศ

»จุดประสงค์การเรียนรู้
»แบบทดสอบก่อนเรียน

»»2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
      »»» ข้อมูล (data)
      »»» สารสนเทศ (information)
      »»» การประมวลผล (processing)
      »»» การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

»»2.2 ประเภทของข้อมูล
      »»» 2.2.1 ข้อมูลปฐมภูมิ
      »»» 2.2.2 ข้อมูลทุติยภูมิ

»»2.3 วิธีการประมวลผลข้อมูล
      »»» 2.3.1 การประมวลผลแบบเชื่อมตรง
      »»» 2.3.2 การประมวลผลแบบกลุ่ม

»»2.4 การจัดการสารสนเทศ
      »»» 2.4.1 การรวบรวมข้อมูลและการตรวจสอบข้อมูล
      »»» 2.4.2 การประมวลผลข้อมูล
      »»» 2.4.3 การดูแลรักษาข้อมูล

»»2.5 ระดับของสารสนเทศ
      »»» 2.5.1 ระดับบุคคล
      »»» 2.5.2 ระดับกลุ่ม
      »»» 2.5.3 ระดับองค์กร

»»วิดีโอสรุปเนื้อหาหน่วยที่ 2

»แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 3 องค์ประกอบคอมพิวเตอร์

»จุดประสงค์การเรียนรู้
»แบบทดสอบก่อนเรียน

»»3.1 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
      »»» 1. หน่วยรับข้อมูล (input unit)
      »»» 2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
      »»» 3. หน่วยความจำหลัก (main memory)
      »»» 4. หน่วยแสดงผล (output unit)
      »»» 5. หน่วยความจำรอง (secondary storage)

»»3.2 หน่วยรับข้อมูล
      »»» 3.2.1 แป้นพิมพ์
      »»» 3.2.2 เมาส์
      »»» 3.2.3 สแกนเนอร์
      »»» 3.2.4 อุปกรณ์จับภาพ
      »»» 3.2.5 อุปกรณ์รับเสียง

»»3.3 หน่วยประมวลผลกลาง
      »»» หน่วยประมวลผลกลาง
      »»» หน้าที่ของซีพียู
      »»» การเลือกซื้อซีพียู
      »»» การดูแลรักษา

»»3.4 หน่วยความจำหลัก
      »»» 3.4.1 หน่วยความจำแรม
      »»» 3.4.2 หน่วยความจำรอม

»»3.5 หน่วยแสดงผล
      »»» 3.5.1 จอภาพ
      »»» 3.5.2 เครื่องพิมพ์
      »»» 3.5.3 ลำโพง

»»3.6 หน่วยความจำรอง
      »»» 3.6.1 ฮาร์ดดิสก์
      »»» 3.6.2 ออปติคัลดิสก์
      »»» 3.6.3 อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช

»»3.7 บทบาทของคอมพิวเตอร์
      »»» 3.7.1 ด้านราชการ
      »»» 3.7.2 ด้านงานธุรกิจ
      »»» 3.7.3 ด้านการคมนาคมขนส่ง
      »»» 3.7.4 ด้านงานการศึกษา
      »»» 3.7.5 ด้านงานวิทยาศาสตร์และการแพทย์
      »»» 3.7.6 ด้านงานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
      »»» 3.7.7 งานอื่นๆ

»»3.8 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
      »»» 3.8.1 ช่วยสร้างงาน
      »»» 3.8.2 ช่วยสร้างความบันเทิง
      »»» 3.8.3 ช่วยติดต่อสื่อสาร
      »»» 3.8.4 ช่วยสืบค้นข้อมูล
      »»» 3.8.5 ช่วยแก้ปัญหาทางด้านสังคมและประเทศ

»»วิดีโอสรุปเนื้อหาหน่วยที่ 3

»แบบทดสอบหลังเรียน

»แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
»ผู้จัดทำ

--ขึ้นบนสุด--

ครูนงลักษณ์ เย็นสุข

บทเรียนที่ได้รับความสนใจมากสุด

ติดต่อครูนงลักษณ์

Name

Email *

Message *

ยอดเข้าชม