»»» 3.6.1 ฮาร์ดดิสก์
      »»» 3.6.2 ออปติคัลดิสก์
      »»» 3.6.3 อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช

          หน่วยความจำรอง (secondary storage) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลถาวรที่ผู้ใช้สามารถย้ายข้อมูลและคำสั่งที่อยู่ในหน่วยความจำแรมขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานมาจัดเก็บไว้ได้ด้วยคำสั่งบันทึกของโปรแกรมประยุกต์  ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและคำสั่งมาใช้ในภายหลัง ซึ่งหน่วยความจำรองมีความจุข้อมูลมากกว่าหน่วยความจำหลักและมีราคาถูกกว่า แต่เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำแรม อุปกรณ์หน่วยความจำรองที่นิยมใช้ปัจจุบัน มีดังนี้

3.6.1 ฮาร์ดดิสก์

          ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก สามารถเก็บได้อย่างถาวร โดยไม่ต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่างๆ ฮาร์ดดิสก์มีหน่วยความจุตั้งแต่เป็นไบต์ เมกะไบต์ จนถึงจิกะไบต์ หากเครื่องคอมพิวเตอร์มีความจุของฮาร์ดดิสก์มากก็จะเก็บข้อมูลได้มาก

          ฮาร์ดดิสก์ทำมาจากแผ่นจานแม่เหล็ก (platter) วางซ้อนกันหลายๆ แผ่น โดยที่ทุกแทรก (track)และเซกเตอร์ (sector) ที่มีตำแหน่งตรงกันของฮาร์ดดิสก์ในชุดหนึ่งจะเรียกว่า ไซลินเดอร์ (cylinder) แผ่นจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์นั้นหมุนเร็วมาก โดยที่หัวอ่านและบันทึกจะไม่ไปสัมผัสกับผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก ดังนั้นหากหัวอ่านและบันทึกมีฝุ่นสะสมอยู่มาก หัวอ่านและบันทึกจะไปสัมผัสกับผิวของแผ่นจานแม่เหล็ก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการเรียกใช้ข้อมูลหรือเกิดความเสียหายได้

รูปที่ 3.37 ฮาร์ดดิสก์
ที่มา :  http://www.riverplus-ipc.com/uploads/8/7/0/9/8709997/9049598.jpg?498



การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์

           1. ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุและความเร็วเหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้ ดังนี้

ลักษณะการใช้งาน
ความจุ/ความเร็ว
พิมพ์เอกสาร ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นอินเทอร์เน็ต
   0-10 GB/5,400 RPM
กราฟิก ตกแต่งภาพความละเอียดสูง
   200-250 GB/7,200 RPM
สร้างมัลติมีเดีย ตัดต่อเสียง และวิดีโอ
   320 GB ขึ้นไป/10,000 RPM

RPM (Revolutions per minute) คือ จำนวนรอบต่อนาที ซึ่งเป็นหน่วยวัดอัตราการหมุนของจานดิสก์ที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งความเร็วรอบสูงขึ้น อัตราการถ่ายโอนข้อมูลก็จะเร็วยิ่งขึ้น

2. ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีการรับประกัน

การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์

          1.ควรสแกนหาไวรัสเป็นประจำทุกสัปดาห์ หรือติดตั้งโปรแกรมสแกนไวรัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์และปรับปรุงโปรแกรมสแกนไวรัสอยู่เสมอ
          2.ควรลบไฟล์ขยะเป็นประจำทุกวันหรือทุกสัปดาห์ โดยการเรียกใช้โปรแกรมอรรถประโยชน์ของวินโดวส์ ได้แก่ Disk Cleanup
          3.ควรสแกนดิสก์หาพื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่บกพร่อง ซึ่งมักเกิดจากการปิดเครื่องโดยไม่ได้ shut down หรือไฟดับกะทันหัน  ซึ่งทำได้โดยการเรียกใช้โปรแกรม Check Disk
          4.ควรจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ให้เป็นระเบียบ เพื่อเพิ่มเนื้อที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์และเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้รวดเร็วขึ้น โดยการเรียกใช้โปรแกรมยูทิลิที้ของวินโดวส์ได้แก่  Disk Defragmenter ซึ่งควรทำอย่างน้อยเดือนละครั้ง


          ออปติคัลดิสก์ (optical disk) คือ หน่วยความจำรองที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ในการบันทึกข้อมูลต่างๆ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากกว่า ฮาร์ดดิสก์ธรรมดา ออปติคัลดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้

          1. ซีดีรอม (CD-ROM : Compact Disk-Read-Only Memory) เป็นหน่วยความจำรองที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้ รวมทั้งไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้ ซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรกสุดนั้นมีความเร็วในการอ่านข้อมูลที่ 150 กิโลไบต์ต่อวินาทีเรียกว่า มีความเร็ว  1 เท่าหรือ 1 x ซึ่งซีดีรอมไดร์ รุ่นหลังๆจะอ้างอิงความเร็วในการอ่านข้อมูลจากรุ่นแรกเป็นหลัก เช่น ความเร็ว 52 เท่า (52x) เป็นต้น
รูปที่ 3.38 ซีดีรอม
ที่มา : http://1.bp.blogspot.com/_aTAVJ9zaJ8/SjF7LwcCSnI/AAAAAAAAAEY/XQf4wnEAK_g/s320/CD_Rom_Driver.jpg



           2. ซีดีอาร์ (CD-R : Compack Disk Recordable) เป็นหน่วยความจำรองที่เขียนข้อมูลลงแผ่นแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้ แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นเดิมได้จนกระทั่งแผ่นเต็ม
รูปที่ 3.39 ซีดีอาร์
ที่มา : http://img.tarad.com/shop/c/cbtoolkit/img-lib/spd_20100120211137_b.jpg



          3.ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW : Compact Disk Rewrite) หน่วยความจำที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น และสามารถเขียนข้อมูลใหม่ทับลงในแผ่นเดิม หรือผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเนื้อหาต่างๆ ภายในแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวได้คล้ายแผ่นฟลอบปี้ดิสก์
รูปที่ 3.40 ซีดีอาร์ดับบลิว
ที่มา : https://compustore.mx/wp-content/uploads/2017/06/cd-rw-sony-25pzs-02.jpg



4.ดีวีดี (DVD : Digital Video disk) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมแทนแผ่นซีดี เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลมาใช้มากขึ้น ซึ่งดีวีดีหนึ่งแผ่น สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ 4.7 กิกะไบต์ถึง 17 กิกะไบต์ นิยมใช้บันทึกภาพยนตร์ หลังจากที่บันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีแล้ว ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดีวีดีมี 3 ชนิด ได้แก่ 

1. ดีวีดีรอม (DVD-ROM) ส่วนมากใช้ในการเก็บภาพยนตร์ที่มีความยาวเกินกว่าสองชั่วโมง มีความจุสูงสุดประมาณ 17 กิกะไบต์

รูปที่ 3.41 ดีวีดีรอม
ที่มา : https://c.76.my/Malaysia/ide-cd-rw-dvd-rom-drive-ecom4u-1606-12-ecom4u@4.jpg

  2. ดีวีดี-อาร์ (DVD-R) ใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีปริมาณมาก และมีราคาสูงกว่าดีวีดีรอม ดีวีดี-อาร์ มีทั้งแบบเขียนข้อมูลได้ด้านเดียวและสองด้าน โดยมีความจุด้านละ 4.7 กิกะไบต์ หรือ 120 นาที
รูปที่ 3.42 ดีวีดี-อาร์
ที่มา : https://i.ebayimg.com/images/g/sP8AAOSwZVlXis-L/s-l300.jpg




          3. ดีวีดี-อาร์ดับบลิว (DVD-RW) เป็นเทคโนโลยีแบบแสง มีเครื่องอ่านดีวีดีแรมที่ให้ผู้ใช้บันทึก ลบ และบันทึกข้อมูลซ้ำลงบนแผ่นเดิมได้ โดยมีความจุเช่นเดียวกับดีวีดี-อาร์
รูปที่ 3.42 ดีวีดี-อาร์ดับบลิว
ที่มา : https://i.ebayimg.com/images/g/7zUAAOSwNuxXbw4x/s-l300.jpg




รูปที่ 3.43  บลูเรย์ดิสก์ นิยมใช้ในการบันทึกภาพยนตร์
ที่มา : http://img.tamtay.vn/files/photo2/2010/1/23/10/358949/4b5a741a_0803a4f6_blu-ray_200gb.png



การเลือกซื้อออปติคัลดิสก์

          1.ควรซื้อแผ่นที่ใส่ในหลอดแผ่นซีดีแบบ 50 แผ่น ไม่ควรซื้อแบบใส่ซองพลาสติกแบบซ้อนกันขยาย เนื่องจากอาจเกิดรอยขีดข่วนบนแผ่นได้
          2.ควรเลือกสีเคลือบด้านบนที่เป็นมันวาว เพราะจะไม่สึกกร่อนง่าย

การดูแลรักษาออปติคัลดิสก์

          1. เก็บแผ่นไว้ในกล่องหรือซองที่มิดชิดเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและรอยขีดข่วน
          2. ควรเช็ดทำความสะอาดแผ่นก่อนใช้
          3. ควรตรวจเช็คแผ่นซีดีนั้นว่ายังสามารถอ่านได้อยู่เสมอ และประมาณ 2 ปี ควรนำแผ่นข้อมูลสำคัญมาบันทึกใหม่


          อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory device) แฟลชไดร์ฟ (flash drive)  ธัมไดรฟ์ 
(thumb drive) หรือแฮนดีไดรฟ์ (handy drive) เป็นหน่วยความจำประเภทรอมที่เรียกว่า อีอีพร็อม 
(Electrically Erasable Programmable Read Only Memory : EEPROM)  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือ สามารถเขียนและลบข้อมูลได้ตามความต้องการ และเก็บข้อมูลได้แม้ไม่ได้ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก
ไมโครเอสดีการ์ด

เอสดีการ์ด


แฟลชไดรฟ์


รูปที่ 3.44 หน่วยความจำแบบแฟลช
ที่มา : https://th-live-03.slatic.net/p/2/kingston-micro-sd-card-class-4-16gb-with-adapter-1450763926-18016-1-catalog_233.jpg
ที่มา : http://i.ebayimg.com/00/$(KGrHqJHJFEFEkoR+lJ,BRgKzDqDgg~~_32.JPG
ที่มา : http://syda-industrial.com/bigpic/6/26/20091005171320.jpg

การเลือกซื้ออุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช

          1.ควรเลือกที่มีความแข็งแรงขนาดไม่ใหญ่เกินไป และฝาปิดควรให้เชื่อมต่อกับตัวหน่วยความจำ เพื่อไม่ให้สูญหายง่าย
          2. ควรเลือกขนาดความจุและราคาที่เหมาะสม
          3. ควรเลือกที่มีการรับประกัน

การดูแลรักษาอุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช

          เมื่อเลิกใช้หน่วยความจำแบบแฟลชที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องยกเลิกการเชื่อมต่อ โดยคลิกขวาที่การเชื่อมต่อด้านขวามือของทาส์กบาร์ คลิก Safe To Remove Hardware จากนั้นคลิก Stop และ Close ที่หน้าจอ ไม่ควรดึงออกจากการต่อเชื่อมเลยทันที






ลำดับขั้นตอนการศึกษาบทเรียน

หน้าหลัก
»คำแนะนำการใช้บทเรียน
»คำอธิบายรายวิชา
»แบบทดสอบก่อนเรียน
»แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 1 รู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

»จุดประสงค์การเรียนรู้
»แบบทดสอบก่อนเรียน

  »» 1.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคืออะไร
      »»»เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์
      »»»เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร
      »»»เทคโนโลยี (Technology)
      »»»สารสนเทศ (information)
      »»»เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT)

  »» 1.2 ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      »»» 1.2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
      »»» 1.2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสามารถนำไปประยุกต์ในด้านต่างๆ
      »»» 1.2.3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยทำให้การบริการสะดวกขึ้น
      »»» 1.2.4 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ
      »»» 1.2.5 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

  »» 1.3 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      »»»» 1.3.1 ผลกระทบด้านบวก
           1) การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต
           2) การเสริมสร้างความเสมอภาคในสังคมและการกระจายโอกาส
           3) การเรียนการสอนและส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย
           4) การรักษาสิ่งแวดล้อม
           5) การรักษาความปลอดภัย
           6) การผลิตในอุตสาหกรรมและการพาณิชยกรรม
           7) การสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนาความคิด
           8) การส่งเสริมประชาธิปไตย
      »»»» 1.3.2 ผลกระทบด้านลบ
           1) ทำให้เกิดอาชญากรรม
           2) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเสื่อมถอย
           3) ทำให้เกิดความวิตกกังวล
           4) ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยในการดำเนินงาน
           5) ทำให้เกิดการพัฒนาอาวุธไปใช้ในทางที่ผิด
           6) ทำให้เกิดการแพร่กระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสม
           7) ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
           8) ทำให้ติดคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

  »» วิดีโอสรุปเนื้อหาหน่วยที่ 1

» แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 2 ข้อมูลและสารสนเทศ

»จุดประสงค์การเรียนรู้
»แบบทดสอบก่อนเรียน

»»2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
      »»» ข้อมูล (data)
      »»» สารสนเทศ (information)
      »»» การประมวลผล (processing)
      »»» การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

»»2.2 ประเภทของข้อมูล
      »»» 2.2.1 ข้อมูลปฐมภูมิ
      »»» 2.2.2 ข้อมูลทุติยภูมิ

»»2.3 วิธีการประมวลผลข้อมูล
      »»» 2.3.1 การประมวลผลแบบเชื่อมตรง
      »»» 2.3.2 การประมวลผลแบบกลุ่ม

»»2.4 การจัดการสารสนเทศ
      »»» 2.4.1 การรวบรวมข้อมูลและการตรวจสอบข้อมูล
      »»» 2.4.2 การประมวลผลข้อมูล
      »»» 2.4.3 การดูแลรักษาข้อมูล

»»2.5 ระดับของสารสนเทศ
      »»» 2.5.1 ระดับบุคคล
      »»» 2.5.2 ระดับกลุ่ม
      »»» 2.5.3 ระดับองค์กร

»»วิดีโอสรุปเนื้อหาหน่วยที่ 2

»แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 3 องค์ประกอบคอมพิวเตอร์

»จุดประสงค์การเรียนรู้
»แบบทดสอบก่อนเรียน

»»3.1 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
      »»» 1. หน่วยรับข้อมูล (input unit)
      »»» 2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
      »»» 3. หน่วยความจำหลัก (main memory)
      »»» 4. หน่วยแสดงผล (output unit)
      »»» 5. หน่วยความจำรอง (secondary storage)

»»3.2 หน่วยรับข้อมูล
      »»» 3.2.1 แป้นพิมพ์
      »»» 3.2.2 เมาส์
      »»» 3.2.3 สแกนเนอร์
      »»» 3.2.4 อุปกรณ์จับภาพ
      »»» 3.2.5 อุปกรณ์รับเสียง

»»3.3 หน่วยประมวลผลกลาง
      »»» หน่วยประมวลผลกลาง
      »»» หน้าที่ของซีพียู
      »»» การเลือกซื้อซีพียู
      »»» การดูแลรักษา

»»3.4 หน่วยความจำหลัก
      »»» 3.4.1 หน่วยความจำแรม
      »»» 3.4.2 หน่วยความจำรอม

»»3.5 หน่วยแสดงผล
      »»» 3.5.1 จอภาพ
      »»» 3.5.2 เครื่องพิมพ์
      »»» 3.5.3 ลำโพง

»»3.6 หน่วยความจำรอง
      »»» 3.6.1 ฮาร์ดดิสก์
      »»» 3.6.2 ออปติคัลดิสก์
      »»» 3.6.3 อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช

»»3.7 บทบาทของคอมพิวเตอร์
      »»» 3.7.1 ด้านราชการ
      »»» 3.7.2 ด้านงานธุรกิจ
      »»» 3.7.3 ด้านการคมนาคมขนส่ง
      »»» 3.7.4 ด้านงานการศึกษา
      »»» 3.7.5 ด้านงานวิทยาศาสตร์และการแพทย์
      »»» 3.7.6 ด้านงานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
      »»» 3.7.7 งานอื่นๆ

»»3.8 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
      »»» 3.8.1 ช่วยสร้างงาน
      »»» 3.8.2 ช่วยสร้างความบันเทิง
      »»» 3.8.3 ช่วยติดต่อสื่อสาร
      »»» 3.8.4 ช่วยสืบค้นข้อมูล
      »»» 3.8.5 ช่วยแก้ปัญหาทางด้านสังคมและประเทศ

»»วิดีโอสรุปเนื้อหาหน่วยที่ 3

»แบบทดสอบหลังเรียน

»แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
»ผู้จัดทำ

--ขึ้นบนสุด--

ครูนงลักษณ์ เย็นสุข

บทเรียนที่ได้รับความสนใจมากสุด

ติดต่อครูนงลักษณ์

Name

Email *

Message *

ยอดเข้าชม