»»» 3.5.1 จอภาพ
      »»» 3.5.2 เครื่องพิมพ์
      »»» 3.5.3 ลำโพง

          หน่วยแสดงผล (output unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล โดยจะแปลงผลลัพธ์จากสัญญาณไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ  ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น อุปกรณ์หน่วยแสดงผลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้


รูปที่ 3.28 อุปกรณ์แสดงผลของคอมพิวเตอร์จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้กลายเป็นรูปแบบต่างๆ ที่มนุษย์เข้าใจ




          จอภาพ (monitor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่งและเคลื่อนไหวได้ในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  แต่เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ได้ จึงอาจเรียกว่า                หน่วยแสดงผลชั่วคราว จอภาพที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด ดังนี้

1. จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube monitor) 

          เป็นจอภาพที่มีรูปร่าง ขนาด และเทคโนโลยีเดียวกับโทรทัศน์ กล่าวคือเป็นเทคโนโลยีที่มีหลักการทำงานโดยการยิงลำแสงผ่านหลอดแก้วแสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า หลอดรังสีแคโทด ซึ่งทำให้มีแสงมายังตาของผู้ใช้ค่อนข้างมาก


รูปที่ 3.29 จอซีอาร์ที
ที่มา : http://image.free.in.th/z/iy/comp_mon1294161837.png


2. จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display monitor)

          เป็นจอภาพแบบแบนและใช้เทคโนโลยีการเรืองแสงของผลึกเหลว หรือ liquid crystal จึงทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและมีแสงที่ส่องมายังตาผู้ใช้น้อย จึงทำให้ถนอมสายตาได้มากกว่าจอซีอาร์ที จอแอลซีดีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ จอภาพแบบแอคทีฟเมทริกซ์ (active matrix) ซึ่งเป็นหน้าจอที่ให้ความสว่างและความคมชัดมากมักจะนำไปใช้ในโน้ตบุ๊ก เครื่องพีดีเอ กล้องดิจิทัล เป็นต้น และจอภาพแบบพาสซีพเมทริกซ์ (passive matrix)

          ซึ่งเป็นจอภาพที่ให้ความสว่างและความคมชัดน้อยกว่าจอภาพแบบทีเอฟที มักจะนำไปใช้เป็นจอโทรศัพท์มือถือทั่วไป หรือจอของเครื่องพาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) สีขาวดำ
รูปที่ 3.30 จอแอลซีดี
ที่มา : https://3c1703fe8d.site.internapcdn.net/newman/gfx/news/hires/2009/p2370l.jpg



3.จอพลาสมา (plasma monitor)

          เป็นจอภาพที่มีเทคโนโลยีที่ให้มุมมองจอภาพที่กว้างถึง 160 องศา มีความสว่างและคมชัดมากกว่าจอแอลซีดี สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหวเร็วๆได้ดี จึงเหมาะกับการใช้รับชมภาพยนตร์ และกีฬาเป็นอย่างมาก


รูปที่ 3.31 จอพลาสมา
ที่มา : https://images-na.ssl-images-amazon.com/images/I/31T2d7JH7UL.jpg



4. จอแอลอีดี (LED : Light Emitting Diode)

          เป็นจอภาพที่มีการพัฒนามาจากจอแอลซีดีและจอพลาสมา โดยเทคโนโลยีจอแอลอีดี จะใช้หลอดแอลอีดีขนาดเล็กที่ให้แสงสว่างมากจึงทำให้ภาพที่ได้มีความสว่างและคมชัดมากกว่าจอแอลซีดีและจอพลาสมา ทำงานได้เร็วกว่า ประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากกว่า มีน้ำหนักเบา และสามารถมองภาพจากมุมมองด้านต่างๆได้ทั้ง 4 ด้านของจอภาพ

รูปที่ 3.32 จอแอลอีดี

ที่มา : https://images10.newegg.com/NeweggImage/ProductImage/24-022-405-21.jpg



การเลือกซื้อจอภาพ

          1. ควรเลือกประเภทของจอภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน หากต้องใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานประมาณ 4-8 ชั่วโมง ควรเลือกจอภาพแอลซีดี
          2. ควรเลือกจอภาพที่มีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ปัจจุบันมีมาตรฐานอยู่ 2 ขนาดที่ได้รับความนิยม คือ 
15 นิ้ว และ 17 นิ้ว ข้อดีของจอ 17 นิ้ว คือ เหมาะสำหรับงานออกแบบกราฟิกเพราะมีพื้นที่มากกว่าแต่มีราคาสูงกว่าจอ 15 นิ้ว
          3. ควรเลือกจอภาพที่มีศูนย์บริการและมีการรับประกัน

การดูแลรักษาจอภาพ

          1. การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ควรเปิดจอภาพก่อนจึงเปิดที่ case เครื่อง และไม่ควรเปิดปิดเครื่องติดๆกัน ควรพักเครื่องไว้ประมาณ 5-10 นาที ก่อนเปิดเครื่องใหม่ เพราะการเปิดปิดเครื่องติดๆกันอาจทำให้การทำงานของเครื่องผิดปกติและเครื่องอาจค้างได้
          2. ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับแสงสว่างของห้องทำงานและสภาพการทำงาน เพราะถ้าปรับแสงสว่างของจอภาพมากเกินไป จะทำให้จอภาพมีอายุการใช้งานสั้นลง
          3. ควรตั้งโปรแกรมถนอมจอภาพเพื่อยืดอายุการใช้งานจอภาพให้ยาวนานขึ้น



          เครื่องพิมพ์ (printer) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ในรูปข้อมูล รายงาน รูปภาพ ลงบนกระดาษ
ซึ่งสามารถสัมผัสและเก็บรักษาไว้ได้นาน เครื่องพิมพ์อาจเรียกว่า หน่วยแสดงผลถาวร (hard copy) ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์มีหลายชนิด ดังนี้

1. เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (inkjet printer)

          เครื่องพิมพ์ชนิดนี้นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เพราะมีราคาไม่แพงมากนักหลักการพิมพ์ใช้วิธีฉีดพ่นหยดหมึกเล็กๆให้ติดกับกระดาษ มีข้อดีคือทำให้หยดหมึกไม่แพร่กระจายหรือซึมรวมกัน หมึกพิมพ์แบบสีต้องใช้แม่สีซึ่งบรรจุอยู่ในตลับสามสี ปกติการใช้งานสีแต่ละสีจะหมดไม่พร้อมกัน ถ้าสีใดสีหนึ่งหมดจะส่งผลทำให้เครื่องพิมพ์ไม่ทำงาน ดังนั้นบางบริษัทจึงแยกหมึกพิมพ์แต่ละสีออกจากกัน เพื่อให้เป็นอิสระในการเปลี่ยนหมึก เครื่องพิมพ์แบบนี้จะให้ผลงานที่มีความสวยงาม คมชัด จึงเหมาะกับงานที่ต้องการความประณีตสวยงาม
รูปที่ 3.33 เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก
ที่มา : https://digital-photography-school.com/wp-content/uploads/2010/11/printer.jpg



2. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer)

          ทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสารโดยใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้าบวกบนแผ่นกระดาษที่เคลื่อนผ่าน ผงหมึกที่มีประจุลบจะถูกดูดกับประจุบวก จากนั้นลูกกลิ้งร้อนจะช่วยให้หมึกติดบนกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์มีความเร็วในการพิมพ์สูง และมีต้นทุนการพิมพ์เฉลี่ยต่อแผ่นถูกกว่าเครื่องพิมพ์ฉีดหมึก จึงเหมาะกับงานที่ต้องพิมพ์ปริมาณมาก
รูปที่ 3.34 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ 
ที่มา : http://www.scts.co.th/catalog/images/HP-LaserJet-Pro-CP1025-Color-Laser-Printer.jpg



การเลือกซื้อเครื่องพิมพ์
          1. ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่เหมาะสมกับลักษณะของงานที่ต้องการ
          2. ควรเลือกเครื่องพิมพ์ที่มีศูนย์บริการและการรับประกัน

การดูแลรักษาเครื่องพิมพ์
          1. ควรใช้กระดาษที่ทีคุณภาพ และมีความหนาที่เหมาะสม โดยความหนาที่แนะนำคือ 80 แกรม ซึ่งจะช่วยลดปัญหากระดาษติดและช่วยยืดอายุการทำงานของฟันเฟืองภายในเครื่อง
          2. ควรตั้งเครื่องพิมพ์ในที่มีฝุ่นละอองน้อย และไม่ปล่อยให้ตลับหมึกค้างอยู่ในเครื่อง เพราะอากาศจะเข้าไปทำให้หัวพิมพ์อุดตันได้
          3. ควรเปิดเครื่องพิมพ์ทำงานอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยเฉพาะเครื่องพิมพ์ฉีดหมึก เนื่องจากหากไม่มีการใช้งานนานๆ อาจทำให้หัวพิมพ์อุดตันได้

          ลำโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์รูปแบบเสียง ซึ่งส่วนใหญ่จะให้มาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลำโพง มี 2 ชนิด ดังนี้

          1. ลำโพงแบบขยายเสียงในตัว จะมีปุ่มสำหรับปรับเสียง ได้แก่ ปุ่ม volume สำหรับปรับความดังของเสียง ปุ่ม base สำหรับปรับระดับความดังเสียงทุ้ม และปุ่ม treble สำหรับปรับระดับความดังเสียงแหลม

รูปที่ 3.35 ลำโพงแบบขยายเสียงในตัว
ที่มา : https://www.jbhifi.co.nz/FileLibrary/ProductResources/Images/50780-L-LO.jpg


          2. ลำโพงแบบไม่มีวงจรขยายเสียง  จะมีกรวยของลำโพงที่ใช้ภายในตัวลำโพง (speaker) ขนาดเล็กประมาณ 2 นิ้ว ลำโพงชนิดนี้จะต้องใช้การ์ดเสียงที่มีวงจรขยายเสียงสำหรับขยายเสียงออกลำโพง
รูปที่ 3.36 ลำโพงแบบไม่มีวงจรขยายเสียง
ที่มา : http://ct.lnwfile.com/_/ct/_raw/6e/w2/nd.jpg

การเลือกซื้อลำโพง

          1. ควรทดสอบฟังเสียงก่อน การทดสอบนั้นควรเปิดระดับดังที่สุดและเบาที่สุดเพื่อฟังความคมชัดของเสียง
          2. ควรเลือกลำโพงที่มีศูนย์บริการและการรับประกัน

การดูแลรักษาลำโพง

          1. ควรทำความสะอาดด้านหน้าลำโพง โดยการใช้ไม้ปัดฝุ่นหรือเครื่องดูดฝุ่นขนาดเล็ก
          2. ควรเปิดเสียงในระดับปานกลางหรือร้อยละ 80 จะช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น เพราะถ้าเปิดดังเกินไป อาจทำให้ลำโพงเกิดความเสียหายได้





ลำดับขั้นตอนการศึกษาบทเรียน

หน้าหลัก
»คำแนะนำการใช้บทเรียน
»คำอธิบายรายวิชา
»แบบทดสอบก่อนเรียน
»แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 1 รู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

»จุดประสงค์การเรียนรู้
»แบบทดสอบก่อนเรียน

  »» 1.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคืออะไร
      »»»เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์
      »»»เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร
      »»»เทคโนโลยี (Technology)
      »»»สารสนเทศ (information)
      »»»เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT)

  »» 1.2 ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      »»» 1.2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
      »»» 1.2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสามารถนำไปประยุกต์ในด้านต่างๆ
      »»» 1.2.3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยทำให้การบริการสะดวกขึ้น
      »»» 1.2.4 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ
      »»» 1.2.5 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

  »» 1.3 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      »»»» 1.3.1 ผลกระทบด้านบวก
           1) การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต
           2) การเสริมสร้างความเสมอภาคในสังคมและการกระจายโอกาส
           3) การเรียนการสอนและส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย
           4) การรักษาสิ่งแวดล้อม
           5) การรักษาความปลอดภัย
           6) การผลิตในอุตสาหกรรมและการพาณิชยกรรม
           7) การสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนาความคิด
           8) การส่งเสริมประชาธิปไตย
      »»»» 1.3.2 ผลกระทบด้านลบ
           1) ทำให้เกิดอาชญากรรม
           2) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเสื่อมถอย
           3) ทำให้เกิดความวิตกกังวล
           4) ทำให้เกิดความเสี่ยงภัยในการดำเนินงาน
           5) ทำให้เกิดการพัฒนาอาวุธไปใช้ในทางที่ผิด
           6) ทำให้เกิดการแพร่กระจายข่าวสารที่ไม่เหมาะสม
           7) ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
           8) ทำให้ติดคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

  »» วิดีโอสรุปเนื้อหาหน่วยที่ 1

» แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 2 ข้อมูลและสารสนเทศ

»จุดประสงค์การเรียนรู้
»แบบทดสอบก่อนเรียน

»»2.1 ข้อมูลและสารสนเทศ
      »»» ข้อมูล (data)
      »»» สารสนเทศ (information)
      »»» การประมวลผล (processing)
      »»» การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ

»»2.2 ประเภทของข้อมูล
      »»» 2.2.1 ข้อมูลปฐมภูมิ
      »»» 2.2.2 ข้อมูลทุติยภูมิ

»»2.3 วิธีการประมวลผลข้อมูล
      »»» 2.3.1 การประมวลผลแบบเชื่อมตรง
      »»» 2.3.2 การประมวลผลแบบกลุ่ม

»»2.4 การจัดการสารสนเทศ
      »»» 2.4.1 การรวบรวมข้อมูลและการตรวจสอบข้อมูล
      »»» 2.4.2 การประมวลผลข้อมูล
      »»» 2.4.3 การดูแลรักษาข้อมูล

»»2.5 ระดับของสารสนเทศ
      »»» 2.5.1 ระดับบุคคล
      »»» 2.5.2 ระดับกลุ่ม
      »»» 2.5.3 ระดับองค์กร

»»วิดีโอสรุปเนื้อหาหน่วยที่ 2

»แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยที่ 3 องค์ประกอบคอมพิวเตอร์

»จุดประสงค์การเรียนรู้
»แบบทดสอบก่อนเรียน

»»3.1 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
      »»» 1. หน่วยรับข้อมูล (input unit)
      »»» 2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
      »»» 3. หน่วยความจำหลัก (main memory)
      »»» 4. หน่วยแสดงผล (output unit)
      »»» 5. หน่วยความจำรอง (secondary storage)

»»3.2 หน่วยรับข้อมูล
      »»» 3.2.1 แป้นพิมพ์
      »»» 3.2.2 เมาส์
      »»» 3.2.3 สแกนเนอร์
      »»» 3.2.4 อุปกรณ์จับภาพ
      »»» 3.2.5 อุปกรณ์รับเสียง

»»3.3 หน่วยประมวลผลกลาง
      »»» หน่วยประมวลผลกลาง
      »»» หน้าที่ของซีพียู
      »»» การเลือกซื้อซีพียู
      »»» การดูแลรักษา

»»3.4 หน่วยความจำหลัก
      »»» 3.4.1 หน่วยความจำแรม
      »»» 3.4.2 หน่วยความจำรอม

»»3.5 หน่วยแสดงผล
      »»» 3.5.1 จอภาพ
      »»» 3.5.2 เครื่องพิมพ์
      »»» 3.5.3 ลำโพง

»»3.6 หน่วยความจำรอง
      »»» 3.6.1 ฮาร์ดดิสก์
      »»» 3.6.2 ออปติคัลดิสก์
      »»» 3.6.3 อุปกรณ์หน่วยความจำแบบแฟลช

»»3.7 บทบาทของคอมพิวเตอร์
      »»» 3.7.1 ด้านราชการ
      »»» 3.7.2 ด้านงานธุรกิจ
      »»» 3.7.3 ด้านการคมนาคมขนส่ง
      »»» 3.7.4 ด้านงานการศึกษา
      »»» 3.7.5 ด้านงานวิทยาศาสตร์และการแพทย์
      »»» 3.7.6 ด้านงานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
      »»» 3.7.7 งานอื่นๆ

»»3.8 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
      »»» 3.8.1 ช่วยสร้างงาน
      »»» 3.8.2 ช่วยสร้างความบันเทิง
      »»» 3.8.3 ช่วยติดต่อสื่อสาร
      »»» 3.8.4 ช่วยสืบค้นข้อมูล
      »»» 3.8.5 ช่วยแก้ปัญหาทางด้านสังคมและประเทศ

»»วิดีโอสรุปเนื้อหาหน่วยที่ 3

»แบบทดสอบหลังเรียน

»แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
»ผู้จัดทำ

--ขึ้นบนสุด--

ครูนงลักษณ์ เย็นสุข

บทเรียนที่ได้รับความสนใจมากสุด

ติดต่อครูนงลักษณ์

Name

Email *

Message *

ยอดเข้าชม