»»» 2.3.1 การประมวลผลแบบเชื่อมตรง
»»» 2.3.2 การประมวลผลแบบกลุ่ม
วิธีการประมวลผลข้อมูลโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 2 วิธี คือ
การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (online processing) เป็นวิธีการนำข้อมูลแต่ละรายการที่ถูกบันทึกเข้ามาประมวลผลทันที นิยมใช้ในงานที่ต้องได้ผลลัพธ์ให้กับผู้ใช้ทันที หรือในงานที่ข้อมูลจะต้องทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เช่น เมื่อนักเรียนเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็ม รายการการเบิกเงินของนักเรียนแต่ละครั้งจะไปประมวลผลที่เครื่องหลักที่อาจอยู่ห่างไกลทันที โดยข้อมูลจะถูกนำไปคำนวณและบันทึกยอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากของนักเรียนทันที เป็นต้น
การประมวลผลแบบเชื่อมตรงของการถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
รูปที่ 2.2 การประมวลผลแบบเชื่อมตรงของการถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
ที่มา : https://sites.google.com/site/com1krumook58/_/rsrc/1472781124757/hnwy-thi-3-reuxng-kar-cadkar-sarsnthes/3-3-reuxng-withi-kar-pramwl-phl-khxmul/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%A5.png
2.3.2 การประมวลผลแบบกลุ่ม
การประมวลผลแบบกลุ่ม (batch processing) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละช่วงเวลาหนึ่งและนำข้อมูลที่ได้รับในช่วงเวลาดังกล่าวมาประมวลผลพร้อมกัน เช่น การเก็บข้อมูลเวลาเข้า-ออกของนักเรียน และเมื่อถึงสิ้นเดือนโรงเรียนจะนำข้อมูลมาประมวลผลเป็นรายงานการเข้าชั้นเรียนของนักเรียนในแต่ละเดือน
เป็นต้น
รูปที่ 2.3 ระบบสารสนเทศ
จากระบบการขายสินค้าดังกล่าว ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงจากการขายสินค้าแต่ละครั้ง โดยร้านกระปุกมีการเก็บข้อมูลการขายอย่างต่อเนื่อง และสารสนเทศ คือ รายงานการขายสินค้าแต่ละประเภทและแผนภูมิแสดงยอดขาย ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วจัดให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย โดยเจ้าของร้านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าเข้าร้านได้
ปัจจุบันการประมวลผลข้อมูลดังกล่าวนิยมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ บุคลากร และกระบวนการทำงาน เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เรียกระบบการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ดังกล่าวว่า ระบบสารสนเทศ (Information System)